วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มที่ 9 ธอร์นไดค์ Thorndike



ธอร์นไดค์  (Thorndike)


ธอร์นไดค์  (Thorndike)  ซึ่งได้กล่าวว่าการเรียนรู้คือ การที่ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์ เชื่อมโยง  (Bond)  ระหว่างสิ่งเร้า  และการตอบสนอง  ละได้รับความพึงพอใจจะทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ธอร์นไดค์ได้  ทำการทดลองพบว่า  การเรียนรู้ของอินทรีย์ ที่ด้อยความสามารถเกิดจากการลองผิดลองถูก    ( Trial and Error )  ซึ่งต่อมา  เขานิยมเรียกว่า  การเรียนรู้แบบเชื่อมโยง  การทดลองของธอร์นไดค์ ที่รู้จักกันดีที่สุด คือ  การเอาแมวหิวใส่ในกรง  ข้างนอกกรงมีอาหารทิ้งไว้ให้  แมวเห็น  ในกรงมีเชือกซึ่งปลายข้างหนึ่งผูกกับบานประตูไว้  ส่วนปลายอีกข้างหนึ่ง  เมื่อถูกดึงจะทำให้ประตูเปิด  ธอร์นไดค์ ได้สังเกตเห็นว่า ในระยะแรก ๆ  แมวจะวิ่งไปวิ่งมา  ข่วนโน่นกัดนี่  เผอิญไปถูกเชือกทำให้ประตูเปิด  แมวออกไปกินอาหารได้ เมื่อจับแมวใส่กรง  ครั้งต่อไปแมวจะดึงเชือกได้เร็วขึ้น  จนกระทั่งในที่สุดแมวสามารถดึงเชือกได้ในทันที
ธอร์นไดค์ได้สรุปว่า  การลองผิดลองถูกจะนำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และการเรียนรู้  ก็คือการที่มีการเชื่อมโยง  (Connection)  ระหว่างสิ่งเร้า  (Stimuli)  และการตอบสนอง          ( Responses )  การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก  มีใจความที่สำคัญว่า  เมื่ออินทรีย์กระทบสิ่งเร้า  อินทรีย์จะลองใช้วิธีตอบสนองต่อสิ่งเร้าหลาย ๆ วิธี  จนพบกับวิธีที่เหมาะสมและถูกต้องกับเหตุการณ์และสถานการณ์ เมื่อได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องก็จะนำไปต่อเนื่องเข้ากับสิ่งเร้า นั้น ๆ  มีผลให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น  โดยมีหลักเกณฑ์  และลำดับขั้นที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบนี้  คือ
1.  มีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเป็นสิ่งเร้าให้อินทรีย์แสดงการตอบสนองหรือแสดงพฤติกรรมออกมา
2.  อินทรีย์จะแสดงอาการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง  เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
3.  ปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจจะถูกตัดทิ้งไป
4. เมื่อปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจถูกตัดทิ้งไป  จนเหลือปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดความพอใจ อินทรีย์จะถือเอา  กิริยาตอบสนอง  ที่ถูกต้องและจะแสดงตอบสนองต่อสิ่งเร้า  ( Interaction )  นั้นมากระทบอีก
นอกจากนี้  ธอร์นไดค์  ได้ตั้งกฎแห่งการเรียนรู้ขึ้นอีก  3  กฎ  คือ
1.  กฎแห่งผล  ( Law of Effect )  กล่าวว่าเมื่อการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับอาการตอบสนองนำความพอใจมาให้การเชื่อมโยง  ระหว่างสิ่งเร้ากับอาการตอบสนองก็จะแน่นแฟ้นขึ้น  ถ้าความสัมพันธ์นี้นำความรำคาญใจมาให้  ความสัมพันธ์นี้  ก็จะคลายความแน่นแฟ้นลง  หรืออาจจะกล่าวได้ว่า  ถ้าจะให้ผู้เรียนรู้อะไรจะต้องมีรางวัลให้  (รางวัลมิได้หมายถึงสิ่งของ  แต่อย่างเดียว  แต่รวมเอา  ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้ผู้เรียน รู้สึกพอใจ  เช่น  การให้คำชมเชย  เป็นต้น )  เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรม  ที่ต้องการออกมา  ถ้าจะให้พฤติกรรมบางอย่างหายไปเมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมนั้นออกมาจะต้องมีการทำโทษ  เมื่อธอร์นไดค์ ประกาศ  กฎแห่งผล  ออกมาเช่นนี้  มีผู้พยายามทดลองเพิ่มเติมและมีผู้ได้แย้งกันเป็นอันมาก  ต่อมาธอร์นไดค์พบว่า  การทำโทษ มิได้ทำให้การเชื่อมโยงคลายลง  
ในที่สุดก็สรุปว่า   ถ้าการทำโทษมีผลอยู่บ้าง  ก็ไม่ได้ทำให้การเชื่อมโยงอันเก่าคลายลง  แต่จะเป็นการบังคับ  ให้ผู้เรียนพยายาม  ลองแสดงอาการตอบสนองอย่างอื่น  ในที่สุดธอร์นไดค์จึงล้มเลิกกฎแห่งผลที่เกี่ยวกับ  การลงโทษ  แต่ยังคงเหลือกฎแห่งผล  ในด้านการให้รางวัลไว้ว่า  รางวัลเท่านั้นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น
2.  กฎแห่งการฝึก  ( Law of Exercise )  จากการสังเกตเมื่อเอาแมวใส่กรงครั้งหลัง  แมวจะหาทางออกจากกรงได้เร็วขึ้น  เมื่อทดลอง  นาน ๆ เข้า  แมวก็สามารถออกจากกรงได้ทันที  ตามลักษณะนี้ธอร์นไดค์อธิบายว่า  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการ  ตอบสนองได้  สัมพันธ์  แน่นแฟ้นขึ้น  และความสัมพันธ์นี้ จะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  เมื่อมีการฝึกหัดหรือซ้ำบ่อย ๆ และความสัมพันธ์นี้  จะคลายอ่อนลง  เมื่อไม่ได้ใช้  และธอร์นไดค์เชื่อว่าการกระที่ไม่มีรางวัลเป็นผลตอบแทนหลังการตอบสนองนั้น ๆ  สิ้นสุดลง จะต้องลงเอยด้วย  ความสำเร็จ  มิฉะนั้นการกระทำนั้นก็ไม่มีความหมาย  แต่หลังจากปี ค.ศ.1930 ธอร์นไดค์ได้แก้กฎแห่งการฝึกนี้ใหม่  เพราะในบางกรณี  กฎแห่งการฝึกและกฎแห่งผลไม่สามารถใช้ในสถานการณ์เดียวกันได้  เช่น  เมื่อปิดตาแล้ว  ทดลองหัด  ลากเส้นให้ยาว 3 นิ้ว  แม้ให้ฝึกหัดลากเส้นเท่าไรก็ตาม  ก็ไม่สามารถลากเส้นให้ยาว  3  นิ้วได้  ดังนั้นการฝึกหัดทำจะมีผลดีต่อ  การเรียนรู้ด้วย  ตัวของมันเอง  ไม่ได้ จะต้องมีเหตุผลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ดังนั้นธอร์นไดค์จึงประกาศยกเลิกกฎแห่งการฝึกนี้ แต่ยังเชื่อว่า  การฝึกฝนที่มี  การควบคุมที่ดี  ก็ยังมีผลดีต่อการเรียนรู้อยู่นั่นเอง  กล่าวคือ  ถ้าเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทราบผลของ  การเรียน  แต่ละครั้งว่ายาวหรือสั้นไปเท่าใด  การฝึกหัดก็สามารถทำให้ผู้ฝึกหัดมีโอกาสลากเส้นให้ยาว  3  นิ้วได้
3.  กฎแห่งความพร้อม  ( Law of Readiness )  ธอร์นไดค์ตั้งกฎแห่งความพร้อมนี้เพื่อเสริมกฎแห่งผล  และได้อธิบายไว้ในรูปของการเตรียมตัว  และการเตรียมพร้อม  ในการที่จะตอบสนองกิจกรรมที่ตามมาหลังจากการที่มีการเตรียมตัวพร้อมแล้ว  เช่น  ในสถานการณ์ของแมวในกรง  แมวจะทำอะไรออกมานั้น แมวจะต้องหิว  แมวสามารถเอาเท้าตะปบเชือกที่ห้อยแขวนอยู่นั้น ได้  และมีประสาทสัมผัสที่จะรับรู้ว่าได้รับผลพอใจหรือไม่พฤติกรรมที่แสดงออกไปแล้ว  เป็นต้น  หรือถ้ามนุษย์พร้อม  ที่จะเรียนรู้อะไรบางอย่างได้  พร้อมที่จะแสดงพฤติกรรมบางอย่างที่จำเป็นสำหรับขบวนการการเรียนรู้นั้น  เช่น  จะต้องมีร่างกายที่สูงพอ  แข็งแรงและอยู่ในสภาวะจูงใจที่เหมาะสม  ผู้เรียนจะแสดงหรือไม่แสดงพฤติกรรมอะไรออกมานั้น  ธอร์นไดค์ให้หลักไว้  3  ข้อ  คือ
1.  เมื่อหน่วยของการกระทำพร้อมที่จะแสดงออกมา  ถ้าผู้กระทำทำด้วยความสบายหรือพอใจไม่มีอะไรจะเปลี่ยนแปลงการกระทำ นี้ได้
2.  ถ้าหน่วยของการกระทำพร้อมที่จะแสดงออกแต่ไม่ได้แสดง  จะทำให้เกิดความไม่สบายใจ
3.  ถ้าหน่วยของการกระทำยังไม่พร้อมที่จะแสดงออก  แต่จำเป็นต้องแสดงออก  การแสดงออกนั้น ๆ กระทำไปด้วยความไม่สบายใจ  ไม่พอใจเช่นกัน  ถึงแม้ว่าธอร์นไดค์ได้ปรับปรุงแก้ไขและขยายแนวความคิดของเขาอยู่ตลอดเวลา  ทำให้กฎแห่งความพร้อมและ  กฎแห่งการฝึกหัดหย่อนความสำคัญไป ยังคงเหลือเพียงกฎแห่งผลที่เป็นที่ยอมรับกันอยู่ แต่ในกฎนี้ก็เหลือเพียงด้านของรางวัล  ที่มีผลต่อการเรียนรู้ ส่วนด้านการลงโทษกับการเรียนรู้นั้นถูกตัดทิ้งไป
 อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น