วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มที่ 7ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ


ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ
(
Ivan Petrovich Pavlov )


ประวัติความเป็นมา

ชื่อ                        อีวาน เปโตรวิช ปาฟลอฟ   Ivan Petrovich Pavlov

เกิด                      14 กันยายน  ค.ศ.1849 ( 1849-09-14 )  รีซาน , จักรวรรดิรัสเซีย

เสียชีวิต              27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1936 (อายุ 86 ปี)  เลนินกราด , สหภาพโซเวียต

ที่พำนัก               จักรวรรดิรัสเซีย , สหภาพโซเวียต

เชื้อชาติ              รัสเซีย , โซเวียต

สาขาวิชา           สรีระวิทยา , จิตวิทยา , แพทย์

สถาบันที่อยู่       สถาบันการแพทย์ทหาร

ผลงาน                การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม กับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เกียรติประวัติ     รางวัลโนเบลสาขาสรีวิทยา หรือการแพทย์ ( ค.ศ.1904 )



ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ

(Classical Conditioning Thoery )

                การทดลองโดยสั่นกระดิ่งก่อนที่จะเอาอาหาร (ผงเนื้อ) ให้แก่สุนัข เวลาระหว่างการสั่นกระดิ่งและการให้ผงเนื้อแก่สุนัขต้องเป็นเวลาที่กระชั้นชิดมากประมาณ .25 ถึง .50 วินาทีทำซ้ำควบคู่กันหลายครั้ง และในที่สุดหยุดให้อาหารเพียงแต่สั่นกระดิ่งก็ปรากฏว่าสุนัขก็ยังคงมีน้ำลายไหลได้ โดยที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลายไว้ ปรากฏการเช่นนี้เรียกว่า พฤติกรรมของสุนัขถูกวางเงื่อนไข (Povlov, 1972) หรือที่เรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

         

            การเรียนรู้ที่เรียกว่า classical conditioning นั้นหมายถึงการเรียนรู้ใดๆก็ตามซึ่งมีลักษณะการเกิดตาม ลำดับขั้นดังนี้

             1. ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง
             2. การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิดและการฝึกหัด

                   

          สรุป การทดลองที่จัดว่าเป็น classical ได้ให้ concept ใหญ่ๆ 4 ข้อด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นหลักสำคัญของ S - R Theory คือ

1. กฎการสรุปกฎเกณฑ์ทั่วไป(Law of Generalization) หรือ การแผ่ขยาย  ( Generalization)
2. กฎการจำแนกความแตกต่าง(Law of Discrimination)
3. กฎความคล้ายคลึงกัน    
4. การจำแนก



ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classic Conditioning Theory)

                  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น  ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้เป็นคนแรก คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson) ได้นำเอาแนวคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

              พาฟลอฟ  เชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) คือ การตอบ สนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้น    ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น

                ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ นอกจากจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการวางเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ขึ้นมาแล้ว    ยังหมายถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง  สิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนองอย่างฉับพลัน หรือปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งพาฟลอฟได้อธิบายเรื่องราวการวางเงื่อนไขในแง่ของสิ่งเร้า (Stimulus - S) และการตอบสนอง (Response - R)

             การเชื่อมโยงสิ่งเร้าบางอย่างกับการตอบสนองบางอย่างมาตั้งแต่แรกเกิด แล้วพัฒนาขึ้น    เรื่อย ๆ เมื่อเติบโตขึ้นตามธรรมชาติ โดยสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่า สิ่งเร้าที่ไม่ได้ วางเงื่อนไข(Unconditioned stimulus = UCS) หมายถึง สิ่งเร้าที่มีอยู่ในธรรมชาติ และเมื่อนำมาใช้คู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้หรือตอบสนองจากการวางเงื่อนไขได้ และการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่า การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned response = UCR) ซึ่งหมายถึง การตอบสนองตามธรรมชาติที่ไม่ต้องมีการบังคับ



จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟเป็นแผนผัง ดังนี้                                  

การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้ในการทดลองของพาฟลอฟนั้น พบว่า

                1. การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
                2. ช่วงเวลาในการให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข และไม่วางเงื่อนไข
                3.ถ้ามีการวางเงื่อนไขซ้อนกันมากครั้ง

               

 ทฤษฎีการเรียนรู้

                1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบ สนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
                2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
                3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้า
                4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
                5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง



กฎแห่งการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มี 4 กฎ 

              1.กฎแห่งการลดภาวะ (Law of extinction)
              2.กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ (Law of spontaneous recovery)
3.กฎแห่งสรุปกฎเกณฑ์โดยทั่วไป (Law of generalization)                                 
4.กฎแห่งความแตกต่าง (Law of discrimination)



อ้างอิง



วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มที่ 6 ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก


ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก


ประวัติของโคลเบิร์ก
                ลอเรนส์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)  ผู้สนใจความประพฤติ ถูก-ผิด-ดี-ชั่วของมนุษย์  ทฤษฎีของโคลเบิร์กได้ชื่อทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม (Moral Development Theory)
                โคลเบิร์ก (Lawrence  Kohlberg) ได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวทฤษฎีของพีอาเจต์ แต่โคลเบิรก์ได้ปรับปรุงวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมและได้วิจัยอย่างกว้างขวางในประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมต่างไป
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
โคลเบิร์ก ได้ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10 -16 ปี และได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ (Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น
ระดับที่  1 ระดับก่อนกฏเกณฑ์สังคม จะพบในเด็ก 2-10 ปี
โคลเบิร์กแบ่งขั้นพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ระดับจริยธรรมของผู้อื่น
               ในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า  พฤติกรรมของตน ถูกหรือ ผิดเป็นต้นว่า  ถ้าเด็กถูกทำโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ  ผิดและจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้นอีก  พฤติกรรมใดที่มีผลตามด้วยรางวัลหรือคำชม เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ ถูก”  และจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล
ขั้นที่ 2  ระดับจริยธรรมของผู้อื่น
                ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับ  เพื่อประโยชน์หรือความ          พอใจของตนเอง หรือทำดีเพราอยากได้ของตอบแทน หรือรางวัล พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการของตนเอง  แต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เช่น ประโยค ถ้าเธอทำให้ฉัน  ฉันจะให้.......

ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม จะพบในวัยรุ่นอายุ 10 -16 ปี
โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 3 การยอมรับของกลุ่มหรือสังคม
                ใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อน  ไม่เป็นตัวของตัวเอง  คล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น  เพื่อต้องการรักษาสัมพันธภาพที่ดี  พบในวัยรุ่นอายุ 10 -15 ปี ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับของหมู่คณะ การช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อทำให้เขาพอใจ
ขั้นที่ 4  กฎและระเบียบของสังคม
                จะใช้หลักทำตามหน้าที่ของสังคม โดยปฏิบัติตามระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัด  เรียนรู้การเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม  ปฏิบัติตามหน้าที่ของสังคมเพื่อดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ในสังคม พบในอายุ 13 -16 ปี
                ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหน้าที่ของสังคม   โดยบุคคลรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ของเขาในฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมนั้น  จึงมีหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สังคมกำหนดให้ หรือคาดหมายไว้

ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ
                เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป  ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะตีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณ  ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักของความประพฤติที่จะปฏิบัติตาม  การตัดสินใจ   ถูก”  “ผิด” “ไม่ควรมาจากวิจารณญาณของตนเอง
โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 5  สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
                ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกสมควรที่จะปฏิบัติตาม  โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้เป็นมาตรฐานทางจริยธรรม  ได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่าสิ่งไหนผิดและสิ่งไหนถูก ในขั้นนี้การ ถูกและ  ผิดขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล
ขั้นที่ 6  หลักการคุณธรรมสากล
                ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล  เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม  เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชนและเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน  ในขั้นนี้สิ่งที่ ถูกและ  ผิด”  เป็นสิ่งที่ขึ้นมโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ






กลุ่มที่ 5 ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ เจโรม บรูเนอร์


ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ เจโรม บรูเนอร์



ประวัติความเป็นมา เจโรมบรูเนอร์
                                เจโรม บรูเนอร์ เกิดในเมืองนิวยอร์ค ในปี ค.. 1915  เป็นนักการศึกษา และนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  ซึ่งผลงานส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผลงานของเปียเจต์  บรูเนอร์มีความสนใจในเรื่องพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
                               
                                บรูเนอร์มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม
ขั้นที่1 Enactive representation
  
                                ขั้นที่1 Enactive representation (แรกเกิด – 2 ขวบ ) ในวัยนี้ เด็กจะมีการพัฒนาการทางสติปัญญา โดยใช้การกระทำเป็นการเรียนรู้ หรือเรียกว่า Enactive mode เด็กจะใช้การสัมผัส เช่น จับต้องด้วยมือ ผลัก ดึง สิ่งที่สำคัญเด็กจะต้องลงมือกระโดดด้วยตนเอง เช่น การเลียนแบบ หรือการลงมือกระทำกับวัตถุสิ่งของ ต่างกับผู้ใหญ่ ที่จะใช้ทักษะที่ซับซ้อน เช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น


                                ขั้นที่2 Iconic representation ในพัฒนาทางขั้นนี้ จะเป็นการใช้ความคิด เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการมองเห็น การสัมผัส โดยการนึกมโนภาพ การสร้างจินตนาการ พัฒนาการนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก ยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งสร้างจินตนาการได้มากขึ้น การเรียนรู้ในขั้นนี้เรียกว่า Iconic mode เด็กจะสามารถเรียนรู้โดยการใช้ภาพแทนการสัมผัสของจริง บรูเนอร์ได้เสนอแนะ ให้นำโสตทัศนวัสดุมาใช้ในการสอน เช่น บัตรคำ ภาพนิ่ง เพื่อที่จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้กับเด็ก

                                ขั้นที่3 Symbolic representation ในพัฒนาการทางขั้นนี้ บรูเนอร์ถือว่าเป็นการพัฒนาการขั้นสูงสุดของความรู้ความเข้าใจ เช่น การคิดเชิงเหตุผล หรือการแก้ปัญหา วิธีการเรียนรู้ขั้นนี้เรียกว่า Symbolic mode ซึ่งผู้เรียนจะใช้ในการเรียนได้เมื่อมีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม

แนวคิดของบรูเนอร์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
                                ขั้นพัฒนาการต่างๆ  ที่บรูเนอร์เสนอไว้ได้นำไปสู่แนวความคิดในการจัดการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
                 
·       ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
·       ระดับประถมปลาย
·       ระดับมัธยมศึกษา
·       ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น

แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
                                บรูเนอร์ได้กล่าวถึงทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอนว่าควรประกอบด้วยลักษณะสำคัญ  4 ประการ คือ
ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
2  โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3  การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
4  การเสริมแรงของผู้เรียน

สรุป
                                บรูเนอร์มีความเห็นว่า  คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจโดยผ่านกระบวน การที่เรียกว่า  acting, imaging และ symbolizing   เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิตมิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น


กลุ่มที่ 4 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

 
ประวัติของเพียเจต์
                เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
1) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
 1.1) ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว(Sensori-Motorb Stage)ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี
 1.2) ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด(Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น 
·       ขั้นก่อนเกิดสังกัป  (Preconceptual  Thought)  เด็กอายุ 2-4 ปี
·       ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ (Intuitive  Thought) เด็ก  อายุ 4-7 ปี
 1.3 ) ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete  Operation  Stage)  ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
 1.4 ) ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal  Operational  Stage)  นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี
เพียเจต์ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม  มี 6  ขั้น  ได้แก่
1.ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute  Differences)
2.ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition)
3.ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete  Degree)
4.ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation)
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function)
6.ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact  Compensation)
2) ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
3) กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
3.1) การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation)
3.2) การปรับและจัดระบบ (accommodation)
3.3) การเกิดความสมดุล (equilibration)

การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
1.  นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกันนักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
·       ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences)
·       ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences)
2. หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ 
·       เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
·       เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่ 
·       เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ 
·       เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน 
·       ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities)
3.การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้ 
·       ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ 
·       ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น 
·       ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ 
·       เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง 
·       ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป 
ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning) 
4.ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้ 
·       มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน 
·       พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ 
·       ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อนร่วมชั้น
สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม