วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มที่ 10 ทฤษฎีการกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt ‘s Theory)


ทฤษฎีการกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt ‘s Theory)




ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์  เกิดจากนักจิตวิทยาชาวเยอรมันตั้งแต่ปี  ค.ศ. 1912  โดยมีผู้นำกลุ่มคือ  เวอร์ไธเมอร์  (Wertheimer)  โคห์เลอร์  (Kohler)  คอฟฟ์กา (Koffka)  และเลวิน (Lewin)
ทั้งกลุ่มมีแนวความคิดว่า  การเรียนรู้เกิดจากการจัดประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่กระจัดกระจายให้มารวมกันเสียก่อน  แล้วจึงพิจารณาส่วนย่อยต่อไป
กฎการเรียนรู้
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี  กลุ่มเกสตัลท์เน้นการเรียนรู้ที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย  ซึ่งจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์และการเรียนรู้เกิดขึ้นจาก  2  ลักษณะคือ
1.  การรับรู้  (Perception)  เป็นการแปรความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัสทั้ง  5  ส่วนคือ
หู  ตา  จมูก  ลิ้นและผิวหนัง  การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ  75  ของการรับรู้ทั้งหมด  ดังนั้นกลุ่ม
ของเกสตัลท์จึงจัดระเบียบการรับรู้โดยแบ่งเป็นกฎ  4  ข้อ  เรียกว่า  กฎแห่งการจัดระเบียบ  คือ
                     1.1 กฎแห่งความชัดเจน (Clearness) การเรียนรู้ที่ดีต้องมีความชัดเจนและแน่นอน  เพราะผู้เรียนมีประสบการณ์เดิมแตกต่างกัน
        1.2  กฎแห่งความคล้ายคลึง  (Law of Similarity)  เป็นการวางหลักการรับรู้ในสิ่งที่คล้ายคลึงกัน  เพื่อจะได้รู้ว่าสามารถจัดเข้ากลุ่มเดียวกัน
        1.3  กฎแห่งความใกล้ชิด  (Law of Proximity)  เป็นการกล่างถึงว่าถ้าสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดที่มีความใกล้ชิดกัน  ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งนั้นไว้แบบเดียวกัน
        1.4  กฎแห่งความต่อเนื่อง  (Law of Continuity)  สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน  ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
        1.5  กฎแห่งความสมบูรณ์  (Law of Closer)  สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม
2.  การหยั่งเห็น  (Insight)  หมายถึง  การเกิดความคิดแวบขึ้นมาทันทีทันใด  ในขณะที่ประสบปัญหาโดยมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกเป็นขั้นตอนจนสามารถแก้ปัญหาได้ เป็นการ
มองเห็นสถานการณ์ในแนวทางใหม่ ๆ ขึ้น  โดยเกิดจากความเข้าใจและความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์ว่า
ได้ยินได้ค้นพบแล้ว  ผู้เรียนจะมองเห็นช่องทางการแก้ปัญหาขึ้นได้ในทันทีทันใด
การทดลองกลุ่มเกสตัลท์  เพื่อที่จะได้เข้าใจวิธีการแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้เกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วย
การหยั่งเห็น  ซึ่งจะยกตัวอย่างการทดลองของโคล์เลอร์  ระหว่างปี ค.ศ. 1913-1917  ซึ่งทดลองกับลิง
ชิมแปนซี  ซึ่งการทดลองครั้งแรกเป็นการทดลองในเยอรมัน  แต่ต่อมาเข้าได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่อเมริกา
การทดลองส่วนใหญ่ระยะหลังจึงเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ ในประเทศอเมริกา
ขั้นตอนการทดลอง  การทดลองของเขาครั้งแรกมีจุดประสงค์เพราะไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีการเรียนรู้
ของธอร์นไดค์ที่กล่าว  ตว์โลกทั่วไปทำอะไรไม่มีแบบแผนหรือระเบียบวิธีใด ๆ  การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นการ
เดาสุ่มหรือการลองถูกลองผิด  ดยมีการเสริมกำลังเป็นรางวัล  เช่น  อาหารเป็นแรงจูงใจที่ผลักดันให้เกิด
การเรียนรู้  โดยไม่มีกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ปัญญา
อ้างอิง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น