ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ (Skinner)
ทฤษฎีการเรียนรู้ขอสกินเนอร์ (Skinner) เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำหรือแบบปฏิบัติการ ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน คือ Operant
Conditioning Theory หรือ Instrumental conditioning theory หรือ Type - R Conditioning Theory สกินเนอร์ได้เสนอแนวความคิดโดยจำแนกทฤษฎีทางพฤติกรรมออกเป็น 2 ประเภท
คือ
1. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ Type S (Response Behavior) ซึ่งมีสิ่งเร้า (Stimulus) เป็นตัวกำหนดหรือดึงออกมา เช่น
น้ำลายไหลเนื่องจากใส่อาหารเข้าไปในปาก
สะดุ้งเพราะถูกเคาะที่สะบ้าข้างเข่า
หรือการหรี่ตาเมื่อถูกแสงไฟ
พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการตอบสนองแบบอัตโนมัติ
2. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ
Type R (Operant Behavior) พฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement) การตอบสนองแบบนี้จะต่างกับแบบแรก
เพราะอินทรีย์เป็นตัวกำหนดหรือเป็นผู้สั่งให้กระทำต่อสิ่งเร้า
ไม่ใช้ให้สิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของอินทรีย์ เช่น
การถางหญ้า การเขียนหนังสือ การรีดผ้า
พฤติกรรมต่าง ๆ
ของคนในชีวิตประจำวันเป็นพฤติกรรมแบบ Operant Conditioning) หลักการเรียนรู้ที่สำคัญ
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าที่กำหนดให้ กล่าวคือ
เมื่อต้องการให้อินทรีย์เกิดการเรียนรู้จากสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง เราจะให้ผู้เรียนรู้เลือกแสดงพฤติกรรมเองโดยไม่บังคับหรือบอกแนวทางในการเรียนรู้
เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้แล้วจึง "เสริมแรง"
พฤติกรรมนั้นทันที
เพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่าพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำนั้น พฤติกรรมการตอบสนองจะขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement) ตัวเสริมแรงแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ
ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น เช่น
คำชมเชย รางวัล อาหาร
2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ
ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้การตอบสนองเพิ่มขึ้นในทางลบ เป็นตัวเสริมแรงทางลบ เช่น
เสียงดัง อากาศร้อน คำตำหนิ
กลิ่น การทำโทษ เป็นการนำตัวเสริมแรงลบเข้ามา เพราะการทำโทษบางอย่างหากนำไปใช้จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะที่เข้มขึ้น
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ไปใช้ในการจัดการศึกษาปฐมวัย
1. การใช้เสริมแรง (Reinforcement) ทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรม ครูควรให้การเสริมแรง โดยการชมเชยหรือให้แรงจูงใจ โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้รางวัล
ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้ต้องการให้ผู้อื่นสนใจตนหรือเห็นว่าตนเองสำคัญกว่าคนอื่น การให้แรงจูงใจจะทำให้เด็กเกิดความสนใจ พอใจที่จะเรียน
2. การปลูกฝังพฤติกรรมบางอย่างและการลดพฤติกรรมบางอย่าง (Shaping Behavior)
หลักการสำคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ก็คือการควบคุมการตอบสนองด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ
เราจะให้การเสริมแรงเฉพาะในเรื่องที่ต้องการเพื่อให้เกิดเป็นนิสัยติดตัว
ดังนั้นถ้าเราต้องการให้เด็กมีพฤติกรรมใหม่ในเรื่องใด ก็ควรให้การเสริมแรงพฤติกรรมนั้น เพื่อให้เด็กทำต่อไปจนเป็นนิสัย
แต่ถ้าต้องการให้พฤติกรรมใดหายไปก็ควรลดการเสริมแรงพฤติกรรมนั้น
ก็จะทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนานั้นหายไป
การปลูกฝังพฤติกรรมใหม่ให้แก่เด็กโดยการใช้การเสริมแรงเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรม
ครูควรมีการวางแผนให้เหมาะสม
3. บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Maching) และเครื่องช่วยสอน (Teaching Learning) สกินเนอร์ได้เสนอการสอนแบบโปรแกรม ซึ่งจัดแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นส่วนย่อย ๆ
เป็นขั้น ๆ
และจัดลำดับให้เป็นเหตุเป็นผลเพื่อให้เรียนได้ง่าย
และเมื่อสำเร็จแต่ละขั้นจะได้รับแรงเสริม หรือให้รางวัลทันที ทั้งบทเรียนสำเร็จรูปและเครื่องช่วยสอนต่างเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีคำตอบที่ถูกต้องไว้ให้
ซึ่งบทเรียนดังกล่าวควรนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นทฤษฎีพัฒนาการของอีริคสันอีริคสัน (Erikson) ได้เน้นความสำคัญที่วัยของเด็ก ขั้นตอนของการพัฒนาการและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ
ๆ ตัวเด็กว่า ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เขาพอใจ ประสบความสำเร็จ เขาจะมองโลกในแง่ดี
มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
แต่ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี
ไม่พอใจ จะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่วางใจผู้อื่นอีริคสัน ยังได้ย้ำว่า
ถ้าหากเด็กไม่พัฒนาและผ่านขั้นต้นแล้ว
เด็กก็จะไม่สามารถพัฒนาในขั้นต่อ ๆ ไปได้การนำมาใช้ในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษานั้น การจัดกิจกรรมในขั้นก่อนประถมศึกษา
เน้นการที่เด็กได้ประสบความสำเร็จและพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน ต่อเพื่อนฝูงและต่อครู ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมองสังคมใหม่ สังคมโรงเรียนในด้านดี
มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อผู้อื่น
และถ้าหากว่าเด็กพอใจและมองโรงเรียนในแง่ดีแล้ว เด็กก็อยากมาโรงเรียน
ก็จะได้รับการพัฒนาให้เจริญเติบโตขึ้นการช่วยเหลือตนเอง เช่น
การไปห้องน้ำ การแต่งกาย
การเก็บของเล่นเข้าที่นั้น
ในระยะเริ่มต้น
ครูจะดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด
และใช้การชมเชย การชักชวนให้ทำกิจกรรมร่วมกับครู ก็จะเป็นการไม่บังคับ เด็กไม่เกิดการต่อต้านและเกิดความพอใจเป็นรางวัลในการทำกิจกรรมช่วยเหลือ การหัวเราะเยาะในสิ่งที่เด็กทำ
หรือการจัดแข่งขันผลงานที่อาจจะก่อให้เกิดการละอาย ก็ไม่ควรใช้
เพราะจะทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออกอีกต่อไปกิจกรรมในระดับก่อนประถมศึกษา เน้นผ่านการเล่น ซึ่งเป็นการสนุกสนาน สื่ออุปกรณ์ที่ใช้
ก็เรียกร้องและเชิญชวนต่อการเข้าร่วมการใช้จินตนาการ
บทบาทสมมติซึ่งเป็นการตอบสนองต่อพัฒนาของเด็กวัยนี้ ก็มีการจัดให้อยู่ตลอดเวลา
การศึกษาทดลองของสกินเนอร์
การเสริมแรง
คือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคลซึ่งจะแยกเป็น 2
ประเภทคือ การเสริมแรงทางบวก คือสิ่งที่ก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น และการเสริมแรงทางลบ
คือสิ่งที่เมื่อนำออกไปแล้วจะทำให้การแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น การลงโทษ
การเสริมแรงทางลบและการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและมักจะใช้แทนกันอยู่เสมอ
แต่การอธิบายของสกินเนอร์การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน โดยเขาได้เน้นว่าการลงโทษนั้นเป็นการระงับหรือหยุดยั้งพฤติกรรม
เปรียบเทียบการเสริมแรงและการลงโทษ
ได้ดังนี้
พฤติกรรม
|
การเสริมแรง
|
เพิ่มพฤติกรรม
ก่อให้เกิดการกระทำ พฤติกรรมนั้นบ่อยขึ้น
|
พฤติกรรม
|
การลงโทษ
|
ลดพฤติกรรม
ก่อให้เกิดการกระทำ พฤติกรรมนั้นน้อยลง
|
2. ตารางการให้การเสริมแรง
ในการทดลองของสกินเนอร์ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำเอง ดังนั้นระยะเวลาในการให้การเสริมแรงจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้มาก
ตารางการให้การเสริมแรง สามารถแยกออกได้
ดังนี้
ตัวอย่างตารางการให้การเสริมแรง
| ||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||
3. การปรับพฤติกรรม การปรับพฤติกรรม คือ การนำแนวความคิดของสกินเนอร์ในเรื่องกฎแห่งผลมาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อทำการปรับพฤติกรรมของบุคคล หลักการนี้อาจจะใช้ทั้งการเสริมแรงทางบวกและการเสริมแรงทางลบประกอบกัน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัยของทิฟเนอร์และคณะ พบว่าในหลาย ๆ ครั้งที่การใช้หลักดังกล่าวไม่เกิดผลนั่นก็คือแม้จะใช้หลักการชม แต่ผู้เรียนก็ยังคงมีการกระทำผิดต่อไป ดังนั้นการใช้หลักดังกล่าวควรจะใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ ด้วย
หลักการชมที่มีประสิทธิภาพ ควรจะมีลักษณะดังนี้
(1) ควรชมพฤติกรรมที่สมควรได้รับการยกย่อง
(2) ระบุพฤติกรรมที่สมควรยกย่องอย่างชัดเจน
(3) ชมด้วยความจริงใจ
อ้างอิง
http://www.kroobannok.com/96