ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นนายแพทย์ จิตแพทย์ และนักจิตวิทยาชาวออสเตรีย เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1939 เป็นผู้สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านการพัฒนา Psychosexual
ฟรอยด์เชื่อว่ามนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กำเนิด พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงจูงใจหรือแรงขับพื้นฐานที่กระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรม คือ สัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) 2 ลักษณะคือ
Ø 1.สัญชาตญาณเพื่อการดำรงชีวิต
Ø 2.สัญชาตญาณเพื่อความตาย
ฟรอยด์ได้กล่าวถึงพลังงานพื้นฐานทางจิตที่เรียกว่า Libido ซึ่งเกิดมาพร้อมกับมนุษย์ พลังงานเหล่านี้เป็นแหล่งของแรงขับทางเพศของบุคคลทั้งหมด โดยเน้นว่าชีวิตเพศของมนุษย์มิได้เริ่มเมื่อวัยหนุ่มสาว หากแต่เริ่มมาตั้งแต่เด็กและจะค่อยๆ พัฒนาเปลี่ยนรูปแบบเป็นลำดับขั้นขึ้นไป แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามขั้นจะมีการชะงัก (Fixation) หรือการถอยกลับ (Regression) ทำให้มีผลสะท้อนไปถึงบุคลิกภาพตอนโต
ฟรอยด์ได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางเพศไว้ 5 ขั้นตอน คือ
Ø 1.ขั้นความสุขความพอใจบริเวณปาก (Oral Stage) มีอายุอยู่ในช่วงแรกเกิด-18 เดือน
Ø 2.ขั้นความสุขความพอใจบริเวณทวารหนัก (Anal stage) มีอายุอยู่ในช่วง 18 เดือน ถึง 3 ปี
Ø 3.ขั้นความพอใจบริเวณอวัยวะเพศ (Phallic Stage)อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3 ถึง 5 ปี
Ø 4.ขั้นก่อนวัยรุ่น (Latency Stage)มีอายุอยู่ในช่วง 7 ถึง 14 ปี
Ø 5.ขั้นวัยรุ่น (Genital Stage) วัยนี้เป็นวัยรุ่นเริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป
โครงสร้างบุคลิกภาพ (The personality structure)
ฟรอยด์มีความเชื่อว่า ลักษณะจิตใจของบุคคลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
Ø 1.อิด (Id) เป็นเสมือนแรงจูงใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นความต้องการของร่างกาย
Ø 2.อีโก้ (Ego ) เป็นสิ่งที่จะทำห้อิดบรรลุตามจุดมุ่งหมาย
Ø 3.ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนที่เป็นมโนธรรมและศีลธรรม
การทำงานของคนทั้ง 3 ประการจะพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลให้เด่นไปด้านใดด้านหนึ่งของทั้ง 3 ประการนี้ แต่บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ คือ การที่บุคคลสามารถใช้พลังอีโก้เป็นตัวควบคุมพลังอิด และซูเปอร์อีโก้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุลได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น